การใช้ TEGO 51 หรือ Ampholyt 51 ช่วยลดการเหี่ยวและเน่าเปื่อยของผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์
การเหี่ยวและเน่าเปื่อยของผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์ เกิดจากขบวนการสลายตัวเองของเซลล์ของวัตถุนั้นๆ ซึ่งอาจมีตัวเร่ง คืออุณหภูมิและความชื้น หรือเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น เชื้อทางจุลชีววิทยา (เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ฯลฯ) เข้าไปกัดกินเซลล์ของวัตถุนั้นๆ ทำให้วัตถุนั้นๆ ไม่อาจคงคุณสมบัติเดิมไว้ได้
เนื่องจาก TEGO 51 หรือ Ampholyt 51 เป็นอินทรีย์เคมีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค (Disinfectant) ได้ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ที่ก่อให้เกิดโรคและก่อให้เกิดการเน่าเสียของอาหาร เราจึงนำตัวอย่างส่งให้ห้องปฏิบัติการกลางตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร (Laboratory Center for Food and Agriculture Products : LCFA) ทั้งนี้ เพื่อตรวจหาสาร TEGO 51 หรือ Ampholyt 51 ที่ตกค้างจากการล้างผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์ ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาถึงความปลอดภัยในการใช้สารดังกล่าว
ผลจากการทดลองปรากฎว่า เมื่อใช้ TEGO 51 หรือ Ampholyt 51 ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1:99 โดยแบ่งการทดลองอย่างละ 3 ครั้ง ใน 3 ลักษณะ คือ 1) แช่โดยไม่ล้างน้ำ 2) ล้างน้ำ 1 ครั้ง และ 3) ล้างน้ำ 2 ครั้ง แล้วนำมาตรวจหาสารตกค้าง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
ผักกาดหอม
1. แช่โดยไม่ล้างน้ำ มีสารตกค้างเฉลี่ย 12.51
2. ล้างน้ำ 1 ครั้ง นาน 5 นาที มีสารตกค้างเฉลี่ย 3.30
3. ล้างน้ำ 3 ครั้ง นาน 5 นาที มีสารตกค้างเฉลี่ย 2.06
องุ่น
1. แช่โดยไม่ล้างน้ำ นาน 5 นาที มีสารตกค้างเฉลี่ย 0.39
2. ล้างน้ำ 1 ครั้ง นาน 5 นาที มีสารตกค้างเฉลี่ย 0.27
3. ล้างน้ำ 3 ครั้ง นาน 5 นาที มีสารตกค้างเฉลี่ย 0.12
ปลาทับทิม
1. แช่โดยไม่ล้างน้ำ มีสารตกค้างเฉลี่ย 0.30
2. ล้างน้ำ 1 ครั้ง นาน 5 นาที มีสารตกค้างเฉลี่ย 0.42
3. ล้างน้ำ 3 ครั้ง นาน 5 นาที มีสารตกค้างเฉลี่ย 0.30
จากผลการทดลองสรุปว่าควรล้างผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ ด้วยการใช้สาร TEGO 51 หรือ Ampholyt 51 ในอัตราส่วน 1 ต่อน้ำ 99 ส่วน โดยแช่เป็นเวลา 5 นาที แล้วล้างด้วยน้ำ 2 ครั้ง จะทำให้สาร TEGO 51 หรือ Ampholyt 51 ตกค้างในปริมาณน้อยที่สุด
เนื่องจากสารสำคัญของ TEGO 51 หรือ Ampholyt 51 ไม่ได้มีการศึกษาและกำหนดค่า MRL (Maximun Residue Limit) ไว้ จึงพิจารณาจากค่าความเป็นพิษ oral toxicity ต่อสัตว์ทดลองพบว่าค่า LD50 ของสาร TEGO 51 ในการทดลองให้หนูขาวกินที่ 3,900 mg/kg body weight (Repot no. R3838 Central Institute For Nutrition and Food Research, Netherlands) ซึ่งค่าที่ได้จากการทดลองเหลือตกค้างภายหลังการล้างผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ มีปริมาณต่ำกว่า LD50 มาก
สรุปโดย นายพุธทรัพย์ มณีศรี