สหกรณ์การเกษตรคุ้มเจริญ
สหกรณ์การเกษตรคุ้มเจริญ เป็นสหกรณ์ฟาร์มโคนมที่ใหญ่ที่สุด 1 ใน 5 ของประเทศไทย และ
เป็นฟาร์มโคนมแห่งแรกที่ใช้ Ampholyt 51 หรือ Tego 51 จุ่มเต้านมวัวก่อนและหลังรีดนม เพื่อฆ่าเชื้อโรคและลดอาการปนเปื้อนในน้ำนม รวมทั้งป้องกันโรคเต้านมอักเสบด้วยที่ตั้งของสหกรณ์
ตั้งอยู่ที่เลขที่ 100 หมู่ 14 ตำบลครบุรีใต้ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา 30250 โทรศัพท์ 044-249508 www.khumjareon.com
รายละเอียดของสหกรณ์
สหกรณ์มีพื้นที่ 1,000 ไร่ มีวัวนม 725 ตัว คนงานกว่า 30 คน ค่าเฉลี่ยของน้ำนม 4,500-5,000 กก. ต่อวัน น้ำหนักวัว 450-600 กก. / ตัว สหกรณ์นี้มีสมาชิก 3 ประเภท คือ กลุ่มเจ้าของโคนม จำนวน 50 ราย กลุ่มผู้เลี้ยง จำนวน 24 ราย และ
กลุ่มอาหารสัตว์ จำนวน 74 ราย
ที่ปรึกษาสหกรณ์
1. นายสัตว์แพทย์อยุทธ์ หรินทรานนท์
รองอธิบดีกรมปศุสัตว์
2. นายสัตว์แพทย์สุวิท พึ่งโพธิ์
อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพชลบุรี
3. นายสัตว์แพทย์ณรงค์ เลี้ยงเจริญ
หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อน นครราชสีมา กรมปศุสัตว์
4. รองศาสตราจารย์แพทย์หญิง ดร.สุณีรัตน์ เอี่ยมละมัย
คณบดีคณะสัตว์แพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5. ศาสตราจารย์นายสัตว์แพทย์สมชาย จันทร์ผ่องแสง
หัวหน้าภาควิชาสัตวบาล คณะสัตว์แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประเภทของโคนมแยกเป็นคอก
1. คอกที่ 1 ลูกวัวอายุแรกคลอดถึง 6 เดือน (วัวอายุ 2 เดือนจะมีน้ำหนักประมาณ 70 กก.) ก็จะเริ่มแยกคอกเพื่อเป็นการจับกลุ่มน้ำหนัก เริ่มกินหญ้าได้แล้ว
2. คอกที่ 2 เป็นวัวที่หย่านมแล้ว อายุ 6-15 เดือน พอ 15 เดือน ก็จะเริ่มย้ายไปอีกคอกเพื่อเตรียมพร้อมที่จะผสมพันธุ์
3. คอกที่ 3 เป็นวัวทดแทน อายุ 6-18 เดือนขึ้นไป เป็นวัวสาวที่จะมาแทนวัวที่ท้องและไม่ท้อง ต้องรอ
คลอดลูกก่อนจึงจะเอาไปรีดนมได้
ขั้นตอนการรีดนมวัวของสหกรณ์การเกษตรคุ้มเจริญ
1. อาบน้ำทำความสะอาดธรรมดาตามปกติ โดยใช้เวลาประมาณ 5 นาที ทั้งนี้ เพื่อลดอาการเครียดที่เกิดจาก
ความร้อน (อาบน้ำแล้ววัวจะให้น้ำนมได้มากขึ้น) หลังจากนั้นใช้พัดลมขนาดใหญ่เป่าให้แห้ง เพื่อเตรียมตัวก่อนเข้าโรงรีดนมวัว
2. การทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ ก่อนและหลังการรีดนม โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
2.1 จุ่มเต้านมวัว โดยใช้ผ้าสะอาด 1 ผืน ต่อวัว 1 ตัว
2.2 ผสม Ampholyt 51 หรือ Tego 51 ความเข้มข้น 2% กับสีผสมอาหารสีเหลือง แล้วใส่ในถ้วยจุ่มหัวนมจุ่มนมวัวเพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนการรีดนม (Predipping) เหตุที่ผสมกับสีเหลืองก็เพื่อให้เห็นชัดเจนว่าหัวนมวัวได้ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
2.3 จุ่มเต้านมวัวอีกครั้งหนึ่ง ใช้ผ้าสะอาด 1 ผืนต่อวัว 1 ตัว
2.4 บีบน้ำนมใส่กระบอกทดสอบ เพื่อทดสอบว่าน้ำนมผิดปกติหรือไม่
2.5 ใส่เครื่องรีดนม
2.6 ถอดเครื่องรีดนมออก แล้วแช่ในน้ำเปล่าก่อนจะแช่น้ำที่ผสมคลอรีน เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่เครื่องรีดนม
เหตุที่ใช้คลอรีนทำความสะอาดเครื่องรีดนมเพราะต้นทุนต่ำกว่า แต่ไม่ใช้สำหรับจุ่มเต้านมวัวเพราะคลอรีนจุ่มเต้านมวัวได้ประมาณตัวที่ 3 ประสิทธิภาพการทำงานก็จะเริ่มลดลง โดยเฉพาะในหน้าหนาวซึ่งเต้านมก็แห้งอยู่แล้ว หากจุ่มเต้านมด้วยคลอรีนเต้านมก็ยิ่งแห้งขึ้น ทำให้เต้านมอักเสบง่าย ส่วนข้อดีของการใช้ Ampholyt 51หรือ Tego 51ก็คือ ไม่มีสารตกค้างที่น้ำนม เต้านมไม่แห้ง
2.7 ผสม Ampholyt 51 หรือ Tego 51 ความเข้มข้น 2% กลีเซอรีน (Glycerin) 5% และสีผสม อาหารสีแดง แล้วใส่ในถ้วยจุ่มหัวนม จุ่มนมวัวเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคหลังรีดนม (Postdipping) เหตุที่ผสมกับกลีเซอรีน ก็เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่เต้านม และผสมสีก็เพื่อให้เห็นชัดเจนว่าหัวนมได้ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วทำความสะอาดหลังจากรีดนมเสร็จแล้ว
การฆ่าเชื้อโรคหลังรีดนม (Postdipping) มีความสำคัญมาก เพราะหัวนมวัวหลังการรีดจะเปิดอยู่และใช้เวลาในการปิดสนิท ประมาณ 1 ชั่วโมง หากใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ไม่มีประสิทธิภาพและมีความคงทนพอจะทำให้เชื้อโรคเข้ามาตอนนี้ น้ำยา Ampholyt 51 หรือ Tego 51 ความเข้มข้น 2% และกลีเซอร์รีน 5% จะยึดติดกับผิวหนังบริเวณเต้านมได้นาน จึงทำให้เชื้อโรคไม่เข้าสู่เต้านมวัว
2.8 นำวัวเข้าคอกเพื่อให้กินอาหาร แต่ต้องใช้เครื่องล็อกคอไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
เพื่อให้หัวนมปิดสนิทแล้วจึงปล่อยเครื่องล็อกคอได้
3. นมที่ถูกรีดจะถูกส่งไปยังห้องเก็บนม อุณหภูมินมที่ออกมาจากวัว ประมาณ 38 องศาเซลเซียส เมื่อส่งผ่านท่อไปเก็บอุณหภูมิจะลดลงเหลือ 4 องศาเซลเซียส เมื่อถึงถังเก็บนมจะมีอุณหภูมิเพียง 1 องศาเซลเซียส เพื่อรอส่งต่อไปยังโรงงาน ในระหว่างการเคลื่อนย้ายอุณหภูมิจะอยู่ 2-4 องศาเซลเซียส แต่ไม่เกิน 8 องศาเซลเซียส ทั้งนี้แล้วแต่มาตรฐานของแต่ละโรงงาน
________________________________