
การทดสอบประสิทธิภาพการใช้ Ampholyt 51
ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดปัญหาโรคเต้านมอักเสบในโคนม
Testing the efficiency of Ampholyt 51
for destroying bacteria causing mastitis in dairy cows .
-----------------------------------
หลักการและเหตุผล
ผลิตภัณฑ์น้ำยาฆ่าเชื้อ Ampholyt 51 ซึ่งได้รับการยอมรับในด้านประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อในห้องปฏิบัติการ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ บริษัทจึงมีความประสงค์ที่จะทดสอบว่าน้ำยา Ampholyt 51
มีประสิทธิภาพในการใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเต้านมอักเสบในโคนมเพียงใด
วัตถุประสงค์
เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อ Ampholyt 51 ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค
เต้านมอักเสบในโคนม
อุปกรณ์และวิธีการ
ใช้โคที่กำลังรีดนมจำนวน 20 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว ทำความสะอาดเต้านมโดยการใช้น้ำอาบให้ทั่วร่างกายและบริเวณเต้านมตามวิธีการปกติของฟาร์ม หลังจากอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายแล้วจะใช้พัดลมเป่าลมไปที่ร่างกายโคนมและเต้านมประมาณ 10 นาทีเพื่อให้ร่างกายโคและบริเวณหัวนมแห้ง หลังจากนั้นนำโคนมเข้ามาภายในโรงรีด ทำความสะอาดหัวนมทั้ง 4 ด้วย disposable tissue โดยใช้ tissue 1 แผ่นต่อ 1 หัวนม หลังจากนั้นเลือกสุ่มหัวนมเพื่อใช้น้ำยาจุ่มหัวนมแต่ละหัว โดยมีการจดบันทึกว่าหัวนมใดใช้น้ำยาสูตรใดในการจุ่มหัวนม ก่อนจุ่มหัวนมด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อแต่ละชนิด จะใช้ขวดขนาด 50 ซีซี ที่บรรจุน้ำเกลือความเข้มข้นจุ่มหัวนมทุกหัวก่อนที่จะทำการจุ่มด้วยน้ำยาชนิดต่าง ๆ หลังจุ่มหัวนมด้วยน้ำเกลือแล้วหัวนมจะถูกเช็ดด้วย disposable tissue เพื่อกำจัดน้ำเกลือออก ทำการบันทึกขวดเก็บตัวอย่างให้ตรงกับหมายเลขโคและหัวนมที่เก็บ หลังจากนั้น ทำการจุ่มหัวนมแต่ละหัวด้วยน้ำยาจุ่มหัวนมรวม 4 ชนิด โดยหัวนม 1 หัวจะใช้น้ำยา 1 ชนิด
ชนิดที่ 1 น้ำยา Ampholyt 51 จำนวน 2 ส่วน รวมกับน้ำกลั่น 93 ส่วนและกลีเซอรีน 5 ส่วน
ชนิดที่ 2 น้ำยา Ampholyt 51 จำนวน 4 ส่วน รวมกับน้ำกลั่น 91 ส่วนและกลีเซอรีน 5 ส่วน
ชนิดที่ 3 น้ำยาจุ่มเต้านม A
ชนิดที่ 4 น้ำยาจุ่มเต้านม B
หัวนมของโคนมทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับการจุ่มน้ำยาทั้ง 4 ชนิด โดยกลุ่มที่ 1 จะปล่อยทิ้งไว้นาน 15 วินาที
และจะถูกเช็ดออกโดย disposable tissue กลุ่มที่ 2 จะปล่อยทิ้งไว้นาน 30 วินาที แล้วจึงถูกเช็ดออกด้วย disposable tissue หลังจากน้ำยาที่จุ่มหัวนมทุกหัวถูกเช็ดออกจนหมดแล้ว ใช้ขวดบรรจุน้ำเกลือทำการจุ่มหัวนมตามวิธีการเดียวกับที่เก็บก่อนจุ่มหัวนมด้วยน้ำยา และทำการบันทึกหมายเลขขวดเช่นเดียวกัน
ขวดน้ำเกลือทั้งหมดจะถูกส่งไปตรวจหาปริมาณของเชื้อแบคทีเรีย (Total plate count) และแยกชนิดของเชื้อที่ห้องปฏิบัติการ โรงพยาบาลปศุสัตว์ ศูนย์ฝึกนิสิต คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภายใน 24 ชั่วโมงหลังการเก็บ ข้อมูลของปริมาณแบคทีเรียและชนิดของแบคทีเรียจะนำมาเปรียบเทียบกันระหว่างก่อนและหลังการจุ่มด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อแต่ละชนิด
การวิเคราะห์ทางสถิติ
ข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์หาความแตกต่างโดยวิธี Analysis of variance
ผลการศึกษา
ตารางที่ 1 แสดงชนิดของแบคทีเรีย จำนวนและเปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่ตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย
ชนิดของแบคทีเรีย |
จำนวนตัวอย่างที่ส่ง ตรวจ |
จำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบ |
% ตัวอย่างที่ตรวจพบ |
Staphylococcus |
160 |
155 |
95 |
Bacillus |
160 |
78 |
48.8 |
Corynebacterium |
160 |
48 |
30 |
Enterobacter |
160 |
24 |
15 |
Pseudomonas |
160 |
22 |
13.8 |
Klebsiella |
160 |
16 |
10 |
Acinetobacter |
160 |
12 |
7.5 |
Streptococcus |
160 |
12 |
7.5 |
E.coli |
160 |
10 |
6.3 |
ตารางที่ 1 แสดงตัวอย่างทั้งหมดที่ส่งไปตรวจ พบการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียทั้งกลุ่มที่เป็น
gram positive ได้แก่ Bacillus, Corynebacterium, Staphylococcus และ Streptococcus และ gram negative ได้แก่ Enterobacter, Pseudomonas, Klebsiella, Acinetobacter และ E.coli โดย Staphylococcus ตรวจพบมากที่สุด โดยตรวจพบถึง 155 ตัวอย่าง (95%) รองลงไป ได้แก่ Bacillus Corynebacterium, Enterobacter,
Pseudomonas, Klebsiella, Acinetobacter, Streptococcus ซึ่งตรวจพบได้เท่ากับ 78 48 24 22 16 12 และ 12 ตัวอย่าง ตามลำดับ โดยเชื้อแบคทีเรียที่ตรวจพบน้อยที่สุดคือ E.coli ที่ตรวจพบเพียง 6.3 เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างทั้งหมด
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบจำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบแบคทีเรียชนิดต่าง ๆ ระหว่างก่อนจุ่มและหลังจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อ
จำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบแบคทีเรีย
|
ก่อนจุ่ม |
หลังจุ่ม |
Staphylococcus |
155 |
18 |
Bacillus |
78 |
5 |
Corynebacterium |
48 |
0 |
Enterobacter |
24 |
0 |
Pseudomonas |
22 |
0 |
Klebsiella |
16 |
2 |
Acinetobacter |
12 |
0 |
Streptococcus |
12 |
0 |
E.coli |
10 |
0 |
จำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบเชื้อแบคทีเรียก่อนจุ่มและหลังจุ่มหัวนมด้วยน้ำยาจุ่มหัวนมทั้ง 4 ชนิด แสดงไว้ในตารางที่ 2 พบว่า หลังจุ่มหัวนมด้วยน้ำยาทั้ง 4 ชนิด พบว่าน้ำยาทั้ง 4 ชนิด มีความสามารถในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี โดยพบว่า Staphylococcus ยังตรวจพบมากเป็นอันดับที่ 1 คือตรวจพบเป็นจำนวน 18 ตัวอย่าง รองลงไปคือ Bacillus และ Klebsiella ไม่พบ Corynebacterium, Enterobacter, Pseudomonas, Acinetobacter, Streptococcus และ E.coli แสดงให้เห็นว่าน้ำยาฆ่าเชื้อทั้ง 4 ชนิด มีประสิทธิภาพเท่ากันในการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย 6 ชนิดคือ Corynebacterium, Enterobacter, Pseudomonas, Acinetobacter, Streptococcus และ E. coli ซึ่งแบคทีเรียทั้ง 6 ชนิด เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเต้านมอักเสบในโคนม
ปริมาณของแบคทีเรียที่ตรวจพบทั้งก่อนและหลังการจุ่มหัวนมด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นเวลา 15 วินาที แสดงไว้ในตารางที่ 3 และรูปที่ 1 พบว่าน้ำยาฆ่าเชื้อทั้ง 4 ชนิด มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ดี การจุ่มหัวนมเป็นเวลา 15 วินาที ด้วยน้ำยา Tego 2% สามารถลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียลงได้ 91.3% ในขณะที่น้ำยา 4% Tego น้ำยา A น้ำยา B สามารถลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียได้เท่ากัน
ตารางที่ 3 แสดงปริมาณของแบคทีเรียที่ตรวจพบเมื่อใช้น้ำยาจุ่มหัวนมชนิดต่างๆ จุ่มหัวนมเป็นเวลา
15 วินาที (x106 cfu/ml) (mean±SD)
ก่อนจุ่ม หลังจุ่ม
2% Tego |
1.05±0.64ก |
0.091±0.07ข |
4% Tego |
1.23±0.69ก |
0.032±0.039ข |
น้ำยา A |
1.55±0.94ก |
0.018±0.017ข |
น้ำยา B |
1.28±0.89ก |
0.038±0.038ข |
ค่าเฉลี่ย |
1.28±0.87ก |
0.045±0.047ข |
กข ในแถวเดียวกันมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)
รูปที่ 1 เปรียบเทียบปริมาณเชื้อแบคทีเรียก่อนและหลังการจุ่มหัวนมด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและปล่อยทิ้งให้สัมผัส
หัวนมนาน 15 วินาที
T1 = 2% Tego, T2 4% Tego, T3 = น้ำยา A, T4 = น้ำยา B
PIT = Predipping, POT = Postdipping
97.4, 98.8 และ 97.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของน้ำยาทั้ง 4 ชนิด แต่มีแนวโน้มว่าน้ำยา Tego 2% จะมีประสิทธิภาพต่ำที่สุดเมื่อถูกใช้
จุ่มหัวนมแล้วปล่อยให้น้ำยามีโอกาสสัมผัสเชื้อนานเพียง 15 วินาที
ปริมาณของแบคทีเรียที่ตรวจพบทั้งก่อนและหลังการจุ่มหัวนมด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นเวลา 30 วินาที แสดงไว้ในตารางที่ 4 และรูปที่ 2 สำหรับการจุ่มหัวนมด้วยน้ำยาทั้ง 4 ชนิด แล้วปล่อยทิ้งไว้นานเป็นเวลา 30 วินาที ก่อนที่จะเช็ดออกพบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการลดปริมาณของแบคทีเรียได้ดีกว่าการจุ่มและปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลา 15 วินาที โดยน้ำยาทั้ง 4 ชนิด มีประสิทธิภาพใน
ตารางที่ 4 แสดงปริมาณของแบคทีเรียที่ตรวจพบเมื่อใช้น้ำยาจุ่มหัวนมชนิดต่าง ๆ จุ่มหัวนมเป็นเวลา 30 วินาที (x106 cfu/ml) (mean±SD)
ก่อนจุ่ม หลังจุ่ม
2% Tego |
1.18±0.55ก |
0.0008±0.0004ข |
4% Tego |
0.97±0.71ก |
0.0007±0.0006ข |
น้ำยา A |
3.46±2.26ก |
0.001±0.0009ข |
น้ำยา B |
1.97±1.261ก |
0.002±0.001ข |
ค่าเฉลี่ย |
1.90±1.47ก |
0.001±0.0008ข |
กข ในแถวเดียวกันมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)
รูปที่ 2 เปรียบเทียบปริมาณเชื้อแบคทีเรียก่อนและหลังการจุ่มหัวนมด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและปล่อยทิ้งให้สัมผัส
หัวนมนาน 30 วินาที
T5 = 2% Tego, T6 = 4% Tego, T7 = น้ำยา A, T8 = น้ำยา B
PIT = Predipping, POT = Postdipping
การฆ่าเชื้อใกล้เคียงกันเมื่อจุ่มหัวนมและปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน 30 วินาที โดยสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้มากกว่า 99%
ปริมาณของแบคทีเรียและกราฟเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียของน้ำยาทั้ง 4 ชนิดแสดงค่าเป็น log10 ของ cfu/ml แสดงไว้ในตารางที่ 5 และรูปที่ 3
ตารางที่ 5 แสดงปริมาณของแบคทีเรียที่ตรวจพบเมื่อใช้น้ำยาจุ่มหัวนมชนิดต่าง ๆ จุ่มหัวนมเป็นเวลา 15 และ 30 วินาที (แสดงเป็นค่า log 10 cfu/ml) (mean±SD)
ปริมาณแบคทีเรียที่ตรวจพบ
15 วินาที 30 วินาที
ก่อนจุ่ม หลังจุ่ม ก่อนจุ่ม หลังจุ่ม
2% Tego |
5.77±0.47ก |
4.61±0.40ข |
5.95±0.24ก |
2.74±0.29ค |
4% Tego |
5.89±0.36ก |
3.87±0.48ข |
5.67±0.47ก |
2.77±0.26ค |
น้ำยา A |
5.89±0.51ก |
3.78±0.61ข |
6.34±0.34ก |
2.84±0.26ค |
น้ำยา B |
5.60±0.74ก |
4.14±0.39ข |
5.99±0.50ก |
3.03±0.33ค |
ค่าเฉลี่ย |
5.79±0.56ก |
4.10±0.62ข |
5.99±0.46ก |
2.85±0.33ค |
กข ในแถวเดียวกันมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
กค ในแถวเดียวกันมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)
รูปที่ 3 เปรียบเทียบปริมาณเชื้อแบคทีเรียก่อนและหลังการจุ่มหัวนมด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและปล่อยทิ้งไว้ให้สัมผัสหัวนม 15 และ 30 วินาที (log 10 cfu/ml)
T1 = 2% Tego 15 วินาที T2 4% Tego 15 วินาที T3 = น้ำยา A 15 วินาที T4 = น้ำยา B 15 วินาที
T5 = 2% Tego 30 วินาที T6 4% Tego 30 วินาที T7 = น้ำยา A 30 วินาที T8 = น้ำยา B 30 วินาที
PIT = Predipping, POT = Postdipping
สรุป
ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าน้ำยาฆ่าเชื้อ Tego 51 ที่ระดับความเข้มข้น 2% และ 4% มีประสิทธิภาพในการลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียทั้งหมดที่เป็นสาเหตุที่สำคัญของโรคเต้านมอักเสบในโคนมและสามารถตรวจพบได้เสมอในบริเวณหัวนมของโคนมที่เลี้ยงในระบบปล่อยของฟาร์มโคนมแห่งหนึ่งที่มีการจัดการเต้านมค่อนข้างดี ประสิทธิภาพในการลดจำนวนแบคทีเรียของน้ำยา Tego 51 ที่ระดับความเข้มข้น 2% และ 4% จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อปล่อยให้น้ำยามีโอกาสสัมผัสหัวนมนานขึ้น โดยน้ำยา 2% และ 4% Tego 51 จะสามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อน้ำยาทั้ง 2 ชนิด ได้สัมผัสหัวนมเพิ่มจาก 15 วินาทีเป็น 30 วินาที น้ำยา Tego 51 ที่ระดับความเข้มข้นทั้ง 2 ระดับให้ผลไม่แตกต่างจากน้ำยาอีก 2 ชนิด ในการลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียทั้งหมดเมื่อปล่อยให้น้ำยาทั้ง 4 ชนิด มีโอกาสสัมผัสหัวนมนาน 30 วินาที อย่างไรก็ตาม การจัดการที่เต้านมในโรงรีดของฟาร์มแต่ละแห่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน ในฟาร์มที่มีการจัดการที่ดี เวลาที่น้ำยาจะได้สัมผัสหัวนมในช่วงการจุ่มหัวนมก่อนรีดจะอยู่ในช่วงประมาณ 15-30 วินาที แต่ในฟาร์มโคนมทั่วไปน้ำยาจุ่มหัวนมจะมีโอกาสสัมผัสหัวนมมากกว่า 30 วินาที เนื่องจากฟาร์มส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการเตรียมเต้านมนานกว่า 30 วินาที ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่าการใช้น้ำยา Tego 51 ที่ระดับความเข้มข้น 2% และ 4% จะสามารถควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเต้านมอักเสบได้ในฟาร์มโคนมทั่วไป
------------------------------------