ฆ่าเชื้อโรคเพื่อสุขอนามัย เมื่อเสร็จจากการผลิตและเคลื่อนย้ายสินค้าออกไปแล้ว การทำความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องทำ เพราะจะช่วยลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในขณะนั้นได้ถึง 90% โดยจะถูกขจัดออกไปพร้อมกับเศษอาหารจำนวนเชื้อโรค 90% ที่ถูกขจัดออกไปนั้นดูเหมือนจะเป็นตัวเลขที่น่าพอใจจนทำให้รู้สึกได้ว่า เพียงแค่ทำความสะอาดก็น่าจะเพียงพอแล้ว ซึ่งเป็นเหตุให้การฆ่าเชื้อไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นอีกต่อไป นับว่าเป็นข้อสรุปที่จะนำไปสู่ความผิดพลาดได้ ตัวอย่าง เชื้อจุลินทรีย์ 109 (หนึ่งพันล้านตัว) ถูกทำให้ลดลง 90% จะเหลือเชื้ออยู่ 108 (หนึ่งร้อยล้านตัว) ซึ่งแน่นอนว่าจำนวนเชื้อโรคที่เหลืออยู่นี้ยังคงสามารถทำให้เกิดภาวะปนเปื้อนของเชื้อได้หรืออีกตัวอย่างหนึ่งที่ใกล้ตัวคือ เชื้อจุลินทรีย์ที่พบอยู่บริเวณพื้นดินทั่วไปประมาณ 106 (หนึ่งล้านตัว) ถ้าถูกทำให้ลดลง 90% จะยังคงมีเชื้อเหลืออยู่ 105 (หนึ่งแสนตัว) ซึ่งก็ยังถือว่าเป็นจำนวนที่ยังไม่สามารถยอมรับได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้การฆ่าเชื้ออย่างเหมาะสม ที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ในขั้นตอนแรกต้องทำความสะอาดก่อนนั้น ควรจะลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์จากเดิมให้ได้ประมาณแสนเท่า (5 log step) แล้วจึงจะสามารถนำไปสู่ขั้นตอนอื่นต่อไป เพื่อทำให้จำนวนเชื้ออยู่ในระดับที่ยอมรับได้แต่ทั้งการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อนี้ก็ยังไม่สามารถทำให้บริเวณทั้งหมดที่ต้องสัมผัสอาหารอยู่ในสภาพไร้เชื้ออย่างสมบูรณ์ได้ และมาตราฐานของสุขอนามัยที่ดีที่สามารถยอมรับได้จะไม่ประสบผลสำเร็จได้ หากปราศจากการวางแผนเรื่องการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อที่เหมาะสม หากย้อนกลับไปพิจารณาเรื่องของจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ที่ยังตกค้างอยู่หลังจากผ่านการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อแล้ว จะเห็นว่า ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่มีจำหน่ายอยู่ทั้งหมดในขณะนี้ ยังไม่มีชนิดใดที่สามารถฆ่าเชื้อได้ทั้งหมดภายใต้การปฏิบัติงานจริง ส่วนที่จะสามารถลดจำนวนเชื้อลงได้ถึงศูนย์หรือไม่มีเลยนั้น จะเป็นไปได้เพียงในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่อาจคาดหวังในเรื่องของสภาพไร้เชื้อในการปฏิบัติงานจริงได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติและไม่อาจเป็นจริงได้เลยสำหรับเป้าหมายหลังจากทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อที่เหมาะสม ก็เพื่อลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้เท่านั้นเอง กล่าวคือในการปฏิบัติงานจริงแล้วจะยอมให้มีเชื้อจุลินทรีย์ปะปนอยู่ได้ในระดับหนึ่งที่ไม่เป็นอันตราย คือไม่สามารถก่อให้เกิดโรคหรือทำให้อาหารเน่าเสียได้ ซึ่งจำนวนนี้ยังต้องอยู่ในปริมาณที่ยอมรับได้เช่นกัน การปฏิบัติงานภายใต้สุขอนามัยที่ดีอย่างสม่ำเสมอจะเกิดผลดีดังนี้คือ
|