: เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในสกุล อินฟลูเอนซา เอ
บางครั้งเรียกว่าเชื้อไวรัสไขหวัดใหญ่ชนิด เอ ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
เชื้อไวรัสไข้หวัดนก จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ
1. HPAI (High pathogenicity avian influenza) : ก่อโรครุนแรงที่มักพบในไก่บ้าน ไก่งวง นกกระทา และไก่ฟ้า
2. LPAI (Low pathogenicity avian influenza) : ก่อโรคไม่รุนแรงที่มักพบในนกป่า ห่าน หงส์ และนกนางนวล
อาการในสัตว์ปีก เป็นอย่างไร ?
มักพบการตายฉับพลันของสัตว์ปีกจำนวนมาก พบได้บ่อยในไก่ มักจะมีอาการบวมน้ำ
หงอนและเหนียงมีสีคล้ำ หน้าแข้งมีจุดเลือดออก เลือดออกใต้ผิวหนัง และตายกะทันหัน
วิธีการติดต่อของโรค
1. การสัมผัสกับเชื้อ ในรูปแบบของอุจจาระของสัตว์ปีก เช่นไก่ และนกพิราบ
2. การสัมผัสใกล้ชิดกับนกป่วยหรือซากนกที่ติดเชื้อ
3. การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
4. การติดต่อผ่านทางรกอาจเป็นไปได้
วิธีการป้องกัน
- ล้างอุปกรณ์เครื่องครัวให้สะอาดหลังใช้เสร็จแล้ว
- รับประทานไข่ และ ไก่ ที่ปรุงสุก
- หากเข้าฟาร์มสัตว์ปีก ควรใส่เสื้อคลุมยาว ถุงมือ รองเท้าบู๊ต แว่นตา และหน้ากากอนามัย
- ล้างมือให้สะอาด หลังจับเนื้อสัตว์ดิบ หรือไข่
ที่มา
https://www.si.mahidol.ac.th/metc/met/th/zoo/Bird_fever.html#[object%20Object]